โรคจอประสาทตาหลุดลอก
ภาวะที่เกิดการแยก หรือลอกตัวของจอประสาทตาออกจากตำแหน่งเดิม โดยมีรูปแบบและสาเหตุการเกิดได้หลายประการ ได้แก่
- จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากรู หรือรอยฉีกขาดที่จอประสาทตา ทำให้มีน้ำไหลเข้าเกิดการแยกของจอ ประสาทตา สาเหตุมักเกิดจากการกระทบกระแทกอย่างรุนแรงที่ตา จอประสาทตาเสื่อมในผู้ป่วยสายตาสั้น หรือ เกิดรูขาดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ เป็นสาเหตุของจอประสาทตาลอกบ่อยที่สุด
- จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากการดึงรั้ง เกิดจากการดึงรั้งของพังผืดที่จอประสาทตาหรือในน้ำวุ้นตา ทำให้ จอประสาทตาหลุดลอก พบไม่บ่อย มักพบในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอรับภาพระยะท้ายซึ่งมีเส้นเลือดงอกผิดปกติ ที่จอรับภาพ และมีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา ผู้ป่วยที่มีการอักเสบของน้ำวุ้นลูกตา หรือจอประสาทตาอย่างรุนแรง จนเกิดชั้นพังผืด หรือผู้ป่วยที่เคยได้รับอุบัติเหตุทำให้ลูกตาแตกหรือทะลุมาก่อน
- จอประสาทตาลอกชนิดไม่มีรูขาดที่จอตา เกิดจากการอักเสบ หรืออุบัติเหตุ ทำให้มีน้ำรั่วซึมขังอยู่ใต้จอ ประสาทตา พบได้ในผู้ป่วยที่มีโรคคอรอยด์อักเสบ เนื้องอกที่จอประสาทตา หรือพบในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิต สูงมากๆ ภาวะไตวาย เป็นต้น
กลุ่มเสี่ยงโรคจอประสาทตาหลุดลอก
จอประสาทลอกสามารถเกิดได้ทุกอายุ แต่จะพบบ่อยในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป กลุ่มคนที่มีโอกาศเป็นมากได้แก่
- สายตาสั้นมาก
- เคยมีจอประสาทตาลอกมาก่อน
- มีประวัติครอบครัวที่จอประสาทตาลอก
- ผ่าตัดต้อกระจก
- เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา
- เป็นโรคตา เช่น retinoschisis, uveitis, degenerative myopia, or lattice degeneration
อาการของโรคจอประสาทตาหลุดลอก
- มองเห็นจุดดำลอยไปมาและเป็นมากขึ้น
- มองเห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบ
- ภาพบางส่วนหายไป เป็นต้น
ดังนั้นผู้ที่มีอาการดังกล่าวจึงควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจจอประสาทตาโดยละเอียด ว่าอาการดังกล่าวเกิดจากภาวะผิดปกติชนิดใด และต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีใด การรักษาในระยะเริ่มต้น เป็นวิธีการรักษาการหลุดลอก และการฉีกขาดของอาการจอประสาทตาหลุดลอกได้ดีที่สุด