Go to Top

รู้ทันโรคจอประสาทตาเสื่อม

− รู้ทันโรคจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อม (Aged-related macular degeneration : AMD)

โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคที่มีความผิดปรกติเกิดขึ้นในจุดกลางรับภาพของจอประสาทตา พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุ สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร

โรคจอประสาทตาเสื่อม ทำให้เกิดความผิดปรกติในการมองเห็นเฉพาะภาพตรงกลาง โดยที่ภาพด้านข้างของการมองเห็นยังดีอยู่ ผู้ป่วยจะไม่สามารถโฟกัสสายตาได้ ในรายที่เป็นขั้นรุนแรง ผู้ป่วยต้องพึ่งพิสัยการมองเห็นรอบข้าง

 

 

อาการ

ตาพร่ามัว มองเห็นตรงกลางของภาพไม่ชัดเจน หรือมองเห็นภาพบิดเบี้ยว

 

สาเหตุของโรคจอประสาทตาเสื่อม

  • การเสื่อมสภาพของร่างกายตามอายุ
  • ภาวะต่างๆ เช่น พันธุกรรม การติดเชื้อบางอย่าง และคนสายตาสั้นมาก ๆ

 

โรคจอประสาทตาเสื่อมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. แบบแห้ง (Dry AMD) พบมากที่สุด เกิจจากการเสื่อมและบางลงบริเวณจุดกลางรับภาพของจอประสาทตา (Macula) การมองเห็นจะค่อยๆลดลงอย่างช้าๆ
  1. แบบเปียก (Wet AMD) อาการจอประสาทตาเสื่อมประเภทนี้ พบได้น้อยกว่า แบบแห้ง เป็นสาเหตุสำคัญของการตาบอดในโรคจอประสาทตาเสื่อม อันเกิดมาจากการที่มีเส้นเลือดผิดปกติงอกขึ้นมา แล้วเส้นเลือดที่เปราะบางเกิดการรั่วซึม ทำให้จุดรับภาพบวม ภาพเริ่มพร่ามัว และตาบอดในที่สุด ในผู้ป่วยอาการจอประสาทตาเสื่อม ประเภทนี้ จะสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็ว มีอาการที่รุนแรงกว่า โรคจอประสาทตาเสื่อม แบบแห้ง

 

กลุ่มเสี่ยงโรคจอประสาทตาเสื่อม

กลุ่มเสี่ยงโรคนี้ได้แก่ คนสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูงและมีระดับไขมันในเลือดสูง รวมถึงผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้รับประทานฮอร์โมนทดแทน

 

การรักษา

การรักษามุ่งเน้นเพื่อหยุดหรือชะลอการดำเนินโรค ให้จอประสาทตามีการเสื่อมเสียช้าที่สุด โดยวิธีเลเซอร์ และการผ่าตัด แต่ยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้

เนื่องจากโรคจอประสาทตาเสื่อมจะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่สายตาสั้นมากๆ หรือผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวมีภาวะจอประสาทตาเสื่อม ดังนั้นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนี้ ควรตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์ทุกปีเพื่อป้องกัน และรักษาได้ทันท่วงที